ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่หลายคนเจอปัญหากันมาอย่างมากมายคือ ระบบทำงานไม่นานก็เสีย เปิดสักพักก็พัง สุดท้ายช่างก็หนีหาย จะจ้างทำใหม่ก็เสียดายเงิน ปัญหาเหล่านั้นมักเกิดมาจากการออกแบบที่ผิดพลาดตั้งแต่แรก แล้วหลายคนเคยสงสัยไหมว่าการออกแบบระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติต้องมีรายละเอียดอย่างไรบ้างถึงจะออกแบบได้มาตรฐานที่ถูกต้อง และสามารถติดตั้งแล้วทำงานได้ยาวนานมากกว่า 10 ปี วันนี้แอดมินจะมาเฉลยให้ฟังเอง
7 ขั้นตอนการออกแบบระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
1. รวบรวมข้อมูลโดยรวม :
ขั้นตอนแรกคือขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลโดยรวมเกี่ยวกับสถานที่ หรือสนามที่จะติดตั้งระบบ อย่างเช่น
- วัดขนาดพื้นที่แต่ละจุด (ความกว้าง , ความยาว) ของแต่ละพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง
- ปริมาณน้ำเฉลี่ยที่ต้นไม้แต่่ละพื้นที่ต้องการว่าค่าเฉลี่ยประมาณกี่ลิตร
- ชนิดของไฟฟ้าในพื้นที่นั้นๆ ว่าเป็นไฟ 1 เฟส หรือไฟ 3 เฟส เพื่อจะได้ออกแบบปั้มได้ถูกต้อง
- ระดับสูงต่ำของพื้นที่ ต้้องดูว่าพื้นที่ของเรานั้นมีระดับที่ต้่างกันไหม
- การกำหนกดแหล่งน้ำ ว่าใช้จากแหล่งน้ำไหนและมีแหล่งน้ำพอรึเปล่า
2. เลือกชนิดหัวสปริงเกอร์และการกำหนดตำแหน่ง
การกำหนดชนิดของหัวฉีดแต่ละโซนว่าจะใช้หัวฉีดชนิดแบบไหนไม่ว่าจะเป็น ชนิด Rotor(แบบลำเส้นเดี่ยว) , Mp rotator (แบบหลายลำเส้นหมุนรอบตัว) , หรือ แบบสเปรย์ โดยแต่ละชนิดก็มีระยะและรูปแบบการฉีดแตกต่างกันออกไป
หลังจากนั้นเราก็มากำหนดตำแหน่งของการวางหัวฉีดว่าจะมีระยะห่างกันเท่าไหร่ในแต่ละจุด โดยมาตรฐานระยะของหัวฉีดแต่ละหัวจะมีระยะห่างกันเท่ากับ 50%-30% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวฉีดนั้นๆ
3. แบ่งโซนการทำงานหรือการให้น้ำ
เมื่อเราได้ชนิดของหััวฉีดและตำแหน่่งที่ติดตั้งแล้วต่อมาเราจะมาทำการแบ่งโซน เพื่อจำกัดให้แต่ละโซนมีปริมาณการใช้น้ำที่ใกล้เคียงกันเพื่อให้การทำงานของปั้มสมบูรณ์แบบและอัตราการจ่ายได้แม่นยำที่สุด เนื่องจากหัวฉีดแต่ละชนิดมีอัตราการจ่ายน้ำที่ไม่เท่ากันเราเลยจำเป็นต้องดูที่อัตราการจ่ายน้ำรวมในโซนไม่ดูที่ปรืิมาณของหัวฉีด
โดยปัจจัยสำคัญอีกข้อคือ ** ห้ามผสมหัวชนิดฉีดคนละชนิดในโซนเดียวกัน ** เนื่องจากอาจทำให้การทำงานของแต่ละชนิดทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เพราะหัวฉีดแต่ละชนิดมีความต้องการแรงดันและปริมาณน้ำที่ต่างกัน
4. คำนวณหาขนาดท่อและวาล์ว
หลังจากเราแบ่งโซนเรียบร้อยต่อมาเราก็ทำการกำหนดท่อเมนและท่อย่อยเพื่อทำการกำหนดตำแหน่งประตูน้ำหรือวาล์วของแต่ละโซนได้
5. คำนวณหาแรงดันในระบบที่ต้องการ
เมื่อเราได้ทั้งชนิดของหัวฉีด , จำนวนหัวฉีด , ความยาวท่อแล้วต่อมาเราจะต้องมาหาแรงดันที่ระบบต้องการจริงๆกัน เพื่อจะได้มั่นใจได้ว่าแรงดันเมื่อถึงที่หัวฉีดแล้วจะมีแรงดันตามที่หัวฉีดต้องการ
- ดูปริมาณแรงดันที่หัวฉีดต้องการว่าแต่ละชนิดต้องการแรงดันที่เท่าไหร่โดยสามารถดูได้จากแคตตาล็อค
- ดูปริมาณแรงดันที่สูญเสียไปจากระยะทางความยาวของท่อ โดยดูจากสูตร LSP+LV+LP+LF+LE = แรงดันที่ต้องการเพิ่ม
6. เลือกขนาดของปั้ม
พอเราได้แรงดันของระบบที่ต้องการแล้วเราต้องการหาโดยคำนึงถึง อัตราการไหลและแรงดัน ที่ปั้มสามารถทำได้ เราจะไม่ดูว่ากี่แรงม้า สามารถดูวิธีการคำนวณหาปั้มได้จากคลิ้กที่นี้ได้เลย " เนื้อหาวิธีการเลือกปั้ม "
7. ขั้นตอนสุดท้ายคือการสรุปรายละเอียดและค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ทั้งหมด เพียงแค่นี้เราก็จะได้การออกแบบระบบรดน้ำต้นไม้เบื้องต้นแล้ว
สำหรับการเลือกอุปกรณ์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องยี้ห้อ Hunter คลิ้กเพื่อดูเพิ่มเติม
➢ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลมาได้ที่
LINE : @kse1993 (มี @ ด้วยนะคะ)
เบอร์ติดต่อ: 02-4476576 (จันทร์-ศุกร์ 08.00-17.00น)
website : www.kse1993.com
#สวน #ระบบน้ำ #ปั๊ม #Hunter #sprinkler #สปริงเกอร์ #รดน้ำต้นไม้ #รดน้ำต้นไม่อัตโนมัติ #รดน้ำสวน #ตั้งเวลารดน้ำ #เครื่องตั้งเวลารดน้ำ #ระบบน้ำอัตโนมัติ #วาล์ว #สวน #โซลีนอยด์
Comments