- KSE1993
การออกแบบระบบน้ำสวนอย่างถูกวิธี จาก KSE

1. คำนวณหาปริมาณน้ำที่มีใช้ภายในบ้านพักอาศัย การออกแบบระบบรดน้ำสปริงเกลอร์ ที่ดีอันดับแรกต้องขึ้นอยู่กับว่ามีปริมาณน้ำเท่าไร ที่ใช้ในการรดน้ำสนามหญ้า และ ต้นไม้ภายในบ้านนั้น ๆ โดยปกติทั่วไปเราสามารถเลือกใช้น้ำได้ เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อน้ำในบ้าน ทะเลสาปข้างบ้าน
2. วาดแผนผังพื้นที่สนามและบ้านพักอาศัย ให้ใช้เทปวัดระยะวัดขนาดบ้าน และพื้นที่สนามอย่างละเอียด และวาดลงกระดาษตามอัตราส่วนที่เหมาะสม และข้อมูลขอบเขตของรั้ว บ้าน ที่จอดรถ ตัวบ้าน ถนน และทางเดิน เช่นไม้พุ้ม ไม้ยืนต้น (ต้นไม้ , ต้นไม้ใหญ่) แนวต้นไม้เตี้ยหรือต้นไม้ริมรั้ว แนวรั้ว ทางเดิน
3. วาดแบ่งพื้นที่รดน้ำเป็นช่องสี่เหลี่ยมหลายช่อง โดยแบ่งพื้นที่ให้เป็นสี่เหลี่ยมใหญ่บ้างเล็กบ้างตามลักษณะของบ้าน ซึ่งอาจเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือจัตุรัส พยายามแบ่งเป็นพื้นที่ 2 แบบ คือ ถ้าด้านที่เล็กที่สุดมากกว่า 9 เมตร ให้ถือเป็นพื้นที่ใหญ่ ถ้าด้านที่เล็กที่สุดน้อยกว่า 9 เมตร ให้ถือเป็นพื้นที่เล็ก
4. กำหนดจุดหัวฉีดสปริงเกลอร์ เพื่อความสะดวกจะใช้รูปแบบสี่เหลี่ยมใน การกำหนดจุดหัวฉีดสปริงเกลอร์โดยใช้ระยะระหว่าง หัวฉีดสปริงเกลอร์สำหรับพื้นที่ใหญ่ห่าง 9-12 เมตร และสำหรับพื้นที่เล็กห่าง 2.4 - 5.0 เมตร เพื่อให้ หัวสปริงเกลอร์สามารถฉีดน้ำได้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ อย่างสม่ำเสมอ
5. กำหนดจำนวนหัวสปริงเกลอร์ ที่จะเปิดในแต่ละครั้ง เพื่อความสะดวกในการเปิดรดน้ำเมื่อได้พื้นที่และตำแหน่งของหัวสปริงเกลอร์ และรุ่นที่จะใช้งานตามข้อ 4 ให้นำอัตราการจ่ายน้ำของแต่ละหัวในพื้นที่ที่แบ่งไว้มารวมกันโดยดูอัตราการจ่ายน้ำจากแค๊ทตาล็อคของสปริงเกลอร์แต่ละรุ่นเมื่อนำมารวมกันก็จะได้จำนวนปริมาณน้ำที่จะจ่ายในแต่ละกลุ่มในการคำนวณปริมาณการเปิดในแต่ละกลุ่มจะต้องให้อัตราการจ่ายน้ำเท่ากันหรือใกล้เคียงกันในทุกกลุ่มเพื่อจะได้สะดวกต่อการเลือกปั๊มสูบน้ำ
6. กำหนดตำแหน่งของประตูน้ำไฟฟ้าและขนาดของท่อเมน ทำการกำหนดท่อที่จะทำการวางในแต่ละโซน โดยกำหนดตำแหน่งประตูน้ำไฟฟ้าที่จะทำการเปิด - ปิด ของสปริงเกลอร์ในแต่ละโซน